Tag Archives: อาวุธไทย

มาฝึกขว้างมีดกันเถอะ

ขว้างได้ไงน่ะ! คงเป็นคำอุทานที่หลายคนบอก เมื่อเห็นการขว้างมีดของบ้านไทยสรรพยุทธ บางคนคงอยากลองขว้างมีดบ้างซักครั้ง แต่ก็จะมีคำถามเหล่านี้ตามมาก่อนจะเริ่มลงมือทำ เช่น ขว้างยากไหม? ต้องซื้อมีดเฉพาะมาขว้างรึเปล่า? จะขว้างแบบไหนดี? จะเตรียมตัวหรือฝึกอย่างไร? ฯลฯ แต่แค่คิด ไม่ลงมือทำก็เสียเวลาเปล่า แถมยิ่งปล่อยนานไป ยิ่งอยากลองขึ้นเรื่อยๆ แต่พอไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร มากเข้าๆ จะกลายเป็นหมดไฟซะก่อน ผมจึงเขียนบทความนี้ขึ้นมาโดยหวังว่าจะช่วยไขข้อข้องใจของท่านทั้งหลายและเป็นกำลังใจให้เริ่มลงมือฝึกขว้างมีดซะ ฝึกเร็วขึ้นหนึ่งวันก็เท่ากับเดินเข้าใกล้เป้าหมายไปอีกหนี่งวัน ได้สนุกก่อนใครอีกหนึ่งวัน   ขว้างมีดจะต้องเฉพาะหนุ่มๆ สาวๆ รึเปล่า? อายุเยอะแล้วขว้างได้ไหม? การขว้างมีดสามารถฝึกได้ทุกช่วงอายุ อายุน้อยสุดที่เคยสอนคือ ๑๐ ขวบกว่าๆ ซึ่งต้องมีผู้ปกครองคอยอยู่ด้วย ส่วนใหญ่จะเป็นช่วงอายุ ๒๐-๓๐-๔๐ ที่เจอบ่อย มากสุดคือ ๗๒ ปี ดังนั้น ถ้ายังหยิบมีดไหว ขว้างได้ เดินไปถอนมีดได้ … Continue reading

Posted in มีดขว้าง, อาวุธไทย | Tagged , , , , , , , , , , | Leave a comment

ท่าและทิศในการขว้างมีด

การขว้างมีดในแนวทางของบ้านไทยสรรพยุทธ จะแบ่งเป็นท่าหลัก 4 ท่าและขว้างในทิศทั้ง 8 ท่าหลักทั้ง 4 ท่า ได้แก่ 1. จับด้ามปกติ ปลายชี้ไปหน้าแขน ขว้างมีดด้วยอุ้งมือ (Forward Grip Forehand Throwing) 2. จับด้ามปกติ ปลายชี้ไปหน้าแขน ขว้างมีดด้วยหลังมือ (Forward Grip Backhand Throwing) 3. กลับมีด ปลายชี้ไปหลังแขน ขว้างมีดด้วยอุ้งมือ (Reverse Grip Forehand Throwing) 4. กลับมีด ปลายชี้ไปหลังแขน ขว้างมีดด้วยหลังมือ (Reverse Grip Backhand Throwing) ทิศทั้ง 8 … Continue reading

Posted in มีดขว้าง, อาวุธไทย | Tagged , , , , , , , , , , , , | Leave a comment

เรื่องของไม้ (๒) คมฝาก คมแฝก

ถ้าใครเห็นคนถือท่อนไม้หน้าตัดสี่เหลี่ยม ยาวเท่าศอกหรือแขน ขนาดจับถือพอดีมือ เหวี่ยงฟาดได้คล่องแคล่วรวดเร็ว เกือบทั้งหมดจะบอกว่านั่นคือ “คมแฝก” ไม่ว่าจะเคยได้ยินเรื่องราวของอาวุธชนิดนี้จากเรื่องเล่าของนักเลงสมัยก่อน ที่นิยมพกอาวุธชนิดนี้ด้วยการเหน็บหรือขัดกับผ้าขาวม้า หรือจากละครทีวีเรื่องดัง ที่ทำให้คำๆ นี้เป็นที่รู้จักกันอีกครั้งในสมัยปัจจุบัน แต่หากเห็นเพียงนั้นจะบอกว่าเป็นคมแฝกเลยก็ดูเหมือนทึกทักกันเกินไป เพราะอาวุธไทยนั้นมีหลากหลายประเภทและเรื่องราวมากมาย ซึ่งคมแฝกก็เช่นเดียวกัน คมแฝกมีลักษณะเป็นไม้แท่ง หน้าตัดสี่เหลี่ยม ส่วนใหญ่ที่รู้จักกันจะเป็นหน้าตัดสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน แต่ก็ยังมีประเภทที่เป็นเป็นทรงป้านคือเกือบจะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสก็มี ขนาดความยาวแตกต่างกันไปตามรูปแบบการจับถือ เช่น คมแฝกศอก เป็นไม้ที่ยาวถึงแค่ศอก กำจับด้ามแล้วพอดีกำปั้น ด้ามไม่เหลือโผล่ ในขณะที่คมแฝกแขน จะมีขนาดยาวขึ้น เมื่อกำจับแล้วจะเหลือด้ามยื่นออกมา ซึ่งส่วนด้ามที่ยื่นนั้นอาจจะทำเป็นทรงหางปลา หรือทรงกลม หรืออื่นๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ คมแฝกยังสามารถแยกตามการใช้งานเป็น ๓ ประเภทใหญ่ คือ ๑ ไม้ตอก เป้นคมแฝกขนาดเล็กสุด ยาวประมาณศอก พกเหน็บตามชายผ้าขาวม้า … Continue reading

Posted in มวยโบราณ, อาวุธไทย | Tagged , , , , , , , , , , , , | Leave a comment

กว่าจะมาเป็น “คาดเชือก”

ในอดีต มวยไทยกับการคาดเชือกนับเป็นของคู่กัน นอกจากเป็นเครื่องป้องกันมือและแขน เพิ่มประสิทธิภาพของอาวุธ ยังเป็นเอกลักษณ์แสดงถึงเชิงมวยของผู้คาดด้วย ถึงกับมีคำกล่าวว่า “คาดเชือกเหมือนกัน ไม่ชกกัน” เพราะกลัวว่าจะเป็นศิษย์ในสายสำนักเดียวกันต่อยตีกันเอง ซึ่งในสมัยก่อนนั้น เรื่องของความเคารพระหว่างครูและศิษย์ สายสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง การมีสัมมาคารวะถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก สำหรับนักมวยที่คาดเชือกได้สวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย นอกจากจะเพิ่มความยำเกรงแก่คู่ต่อสู้แล้ว ยังประทับใจผู้ชม คำชมเชยต่างๆ ก็เป็นผลดีส่งถึงครูบาอาจารย์ผู้สั่งสอนนักมวยคนนั้นๆ การคาดเชือกที่ไม่ได้เรื่องรังแต่จะทำให้ครูท่านจามกันสนั่นหวั่นไหวซะมากกว่า ดังนั้น การคาดเชือกให้ถูกต้อง นับเป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝนสำหรับผู้ที่สนใจจะสืบทอดศาสตร์และศิลปของมวยไทย เมื่อพูดถึงการคาดเชือก ส่วนใหญ่จะรับรู้เพียงว่ามวยสายนี้คาดแบบไหน อย่างไร เช่น โคราชคาดทั้งแขน ไชยาคาดแค่ข้อมือ ลพบุรีคาดครึ่งแขน เป็นต้น แต่ในด้านการทำคาดเชือกนั้นกลับเป็นที่รับรู้น้อยมาก ทั้งๆ ที่เป็นสิ่งสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน การทำคาดเชือกนั้นแบ่งออกหลักๆ ได้เป็น ๒ ชนิดตามวัสดุที่ใช้ในการทำ นั่นคือการทำคาดด้วยผ้า เรียกว่า “ผ้าคาดเชือก” … Continue reading

Posted in มวยโบราณ, มวยไทย, อาวุธไทย | Tagged , , , , , , , , , | Leave a comment

ปัจจัยในการขว้างมีดให้ได้ระยะที่ต้องการ

คนที่ติดตาม “บ้านไทยสรรพยุทธ์” มาพอสมควร จะเห็นว่ามีดขว้างของบ้านไทยฯ นั้นแตกต่างจากมีดขว้างที่ฝรั่งใช้กันอยู่ ในขณะที่ทางฝรั่งจะใช้มีดที่เป็นทรงตรง คือด้ามกับใบอยู่ในระนาบเดียวกัน มีดขว้างของเราจะมีลักษณะเป็นทรงโค้งคือด้ามและใบอยู่คนละระนาบ หรือมีดที่ใบมีดมีลักษณะขยายออกทางปลายคมมีด พูดง่ายๆ คือทรงอีเหน็บนั่นเอง ซึ่งมีดทรงนี้สามารถพบได้ทั่วไปในภูมิภาคเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นมีด Khukuri ของชาวกรูข่า หรือมีด Bolo ของชาวฟิลิปปินส์ เป็นต้น ความโค้งของมีดจะช่วยให้มีดหมุนเร็วขึ้น เพิ่มแรงในการปะทะมากขึ้น แต่ถ้าลองหยิบมีดทรงเดียวกันมาขว้างด้วยการจับท่าขว้างแบบเดียวกัน การจะขว้างได้ระยะใกล้หรือไกลขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักๆ ดังนี้ 1. ความยาวของมีด – มีดที่รูปทรงเดียวกัน แต่ความยาวต่างกัน จับท่าขว้างเดียวกัน มีดที่ยาวกว่าจะได้ระยะที่ไกลกว่า 2. น้ำหนักของมีด – มีดที่รูปทรงเดียวกัน แต่น้ำหนักต่างกัน จับท่าขว้างเดียวกัน มีดที่หนักกว่าจะขว้างได้ระยะที่ไกลกว่า 3. การจับมีดกับจุดสมดุลย์ของมีด … Continue reading

Posted in มีดขว้าง, อาวุธไทย | Tagged , , , , , , , | Leave a comment

เรื่องของขุม

ในศิลปะการต่อสู้สายต่างๆ โดยเฉพาะทางตะวันออก มักจะกล่าวว่าเมื่อผู้เรียนฝึกฝนไปถึงจุดจุดหนึ่งแล้วจะรู้สึกถึงธรรมชาติ นั่นคือร่างกายได้ซึบซับการฝึกฝนดังกล่าวจนกลายเป็นส่วนหนึ่ง ท่ายืนเตรียมพร้อมที่เคยเคร่งครัดรัดกุมก็จะผ่อนคลาย แต่ไม่ได้ขาดการตื่นตัวระแวดระวัง ซึ่งการรู้สึกถึงธรรมชาตินี้เป็นหลักสำคัญของมวยไทยด้วยเช่นกัน ในมวยไทยมีสิ่งที่คล้ายๆ กันซึ่งเราเรียกว่า ขุม เราอาจจะคุ้นเคยกับคำๆ นี้ในคำว่า ยืนสามขุม ย่างสามขุม หรือ เดินสามขุม ซึ่งจริงๆ แล้วคำนี้คือการเข้าถึงธรรมชาติและมีความหมายกว้างกว่าที่รู้จักกันในปัจจุบัน ขุมคือเป็นสภาวะเตรียมพร้อม ไม่แข็ง ไม่อ่อน ไม่เกร็ง ไม่ผ่อน เป็นสภาวะที่พร้อมรับการโจมตีหรือออกอาวุธ พร้อมรุกและถอยด้วยความคล่องแคล่วกระฉับกระเฉง สภาวะนี้ไม่ได้อยู่ภายใต้แรงกดดันหรือความเครียด เป็นสภาวะสมดุลพร้อมทั้งกายและสติ หรือกล่าวโดยย่อคือการรักษาและจัดระเบียบร่างกายให้อยู่ในสภาวะสมดุล การยืนหรือย่างสามขุมก็คือการเคลื่อนไหวแบบหนึ่งที่อยู่ในสภาวะดังกล่าว เพื่อให้การเคลื่อนไหวในขณะนั้นและที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องไปมีประสิทธิผลสูงสุด  เมื่อเริ่มต้นฝึกฝน เราจะรู้สึกถึงสภาวะของขุมได้ง่ายและชัดเจนที่สุดเมื่อยืนหรือเดินย่างมวย ซึ่งเมื่อรู้สึกได้แล้ว ก็ต้องฝึกฝนต่อไปเพื่อผสานสภาวะนี้เข้ากับอิริยาบถอื่นๆ ด้วย เช่น ยืน นั่ง นอน กระโดด วิ่ง … Continue reading

Posted in มวยโบราณ, มวยไทย, อาวุธไทย | Tagged , , , , , , , , , | Leave a comment

ร่างกายของเรา มวย และอาวุธโบราณของไทย

  เวลาคนโบราณเลือกไม้ตะพดให้เหมาะกับตัว จะมีวิธีการเลือกที่น่าสนใจ วิธีการที่นิยม เช่น วัดตามโฉลก “คุก ตะราง ขุนนาง พระยา” คือใช้มือกำรอบส่วนหัวของไม้ตะพดแล้วนับว่า “คุก” มืออีกข้างกำต่อลงมานับว่า “ตะราง” จากนั้นใช้มือแรกกำต่อลงไปนับว่า “ขุนนาง” และมืออีกข้างกำต่อลงไปนับว่า “พระยา” ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนสุดไม้ หากนับได้ที่คำว่า คุก หรือ ตะราง นับเป็นไม้ไม่ดี หากตกที่คำว่า ขุนนาง หรือ พระยา นับว่าเป็นไม้ที่เหมาะสม หรือบางตำราในการเลือกมีดคู่กายก็จะบอกว่าให้ใช้หัวแม่โป้งขวาวางบนโคนมีดแล้วท่องว่า “นะชัย” วางหัวแม่โป้งซ้ายชิดหัวแม่โป้งขวาท่องว่า “ไพรนิรันดร์” จากนั้นทำสลับกันไปจนสุดปลายมีด โดยมีคาถาท่องตามลำดับดังนี้ “นะชัย  ไพรนิรันดร์  สุวรรณลาภ  ปราบทุกทิศ  … Continue reading

Posted in มวยโบราณ, มวยไทย, อาวุธไทย | Tagged , | Leave a comment

ตะพดและเรื่องเล่า

พูดถึงไม้ตะพดให้คนรุ่นใหม่ฟัง หลายคนจะนึกถึงไม้ติดตัวของผู้เฒ่าผู้แก่ ใช้พยุงตัวเวลาเดินเหิน หรืออาจจะนึกถึงละครเรื่อง “ลูกผู้ชายไม้ตะพด” ที่เคยโด่งดัง หรือคนที่ชอบเรื่องนี้มักจะเป็นคนไม่ทันสมัย หัวโบราณ แต่จริงๆ แล้วไม้ตะพดมีเรื่องราวมากกว่านั้น เป็นสัญลักษณ์ของสุภาพบุรุษ เป็นอาวุธที่น่าสนใจ ซึ่งเรื่องราวเป็นมาเช่นไร มาลองฟังกันครับ สมัยก่อน ไม้ตะพดเป็นของนิยมติดตัวชายไทย เพราะสะดวกทั้งถือและใช้ ดูแล้วไม่รุ่มร่าม ถ้าใครอ่านเรื่องดิ้ว ดุ้ย คมฝาก คมแฝก น่าจะจำได้ว่าสำหรับนักเลงรุ่นใหญ่ระดับป๋าแล้ว ตะพดเป็นตัวเลือกสุดท้าย เพราะตะพดเป็นเครื่องแสดงถึงวุฒิภาวะ คนที่ใช้ตะพดได้นั้นต้องได้รับการยอมรับว่าถึงทั้งวัยวุฒิและประสบการณ์ ดังนั้นหากหนุ่มฉกรรจ์คนใดถือตะพด ก็นับว่ามีของและแน่จริง เป็นเครื่องแสดงถึงคุณวุฒิและวุฒิภาวะนั้นได้รับการยอมรับดั่งผู้ใหญ่เต็มตัว  นอกจากนี้ก็ยังมีการเล่น การสะสมไม้ตะพดกัน เพราะถือว่าเป็นเครื่องมือที่บอกฐานะทางสังคมประเภทหนึ่ง และไม้ตะพดดีๆ สวยๆ นั้น ดูอย่างไรก็ไม่เบื่อที่จะวางเลยทีเดียว มีตำราหลากหลายแนวทางในการเลือกและพิจารณาไม้ตะพด แต่หากใช้งานจริงแล้ว ความยาวของไม้ตะพดจะอยู่ประมาณสะดือของผู้ใช้ บางเล่มก็ตรง … Continue reading

Posted in อาวุธไทย | Tagged , , , , , | Leave a comment

กันยา 2555

Posted in กิจกรรม | Tagged , , , | Leave a comment